ประวัติความเป็นมาของสำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ

       

                 สำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ (สลก.ตร.) ได้เปลี่ยนชื่อเรียกต่าง ๆ กันมาหลายครา และการแบ่งหน่วยงานก็
เปลี่ยนแปงปรับปรุงให้เหมาะสมแก่กาลสมัยมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
                ชั้นเดิมก่อนที่กรมพลตระเวนกับกรมตำรวจภูธรจะได้รวมเป็นกรมเดียวกัน คือ ในระหว่าง พ.ศ. 2441 ถึง 2458
ต่างกรมต่างมีหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่เลขานุการเป็นหน่วยงานชั้นกรม  เรียกชื่ออย่างเดียวกันว่า “กรมสรรพการ”  สังกัด
กรมพลตระเวณกับกรมตำรวจภูธร  มีเจ้ากรมเป็นหัวหน้า และมีปลัดกรมเป็นผู้ช่วย
                ครั้งวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2488 มีการประกาศรวมพลกรมตระเวณกับกรมตำรวจภูธร เป็นกรมเดียวกัน  งานกรม
สรรพาการของกรมพลตระเวณ กับกรมตำรวจภูธรจึงรวมเป็นกรมเดียวกัน และเปลี่ยนชื่อเรียกว่า “กรมสารบรรณ”  แต่คงมี
เจ้ากรมเป็นหัวหน้า และมีปลัดกรมเป็นผู้ช่วยดังเดิม
               จนถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2575 เนื่องจากผลแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทย พ.ศ.2475 จึงได้
ประกาศจัดวางโครงสร้างกรมตำรวจขึ้นใหม่ ตามประกาศลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2475 กับมีประกาศเสนาบดีกระทรวง
มหาดไทย เรื่องจัดแบ่งแผนงานรายย่้อยในกรมตำรวจ โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการราษฎร ตรามประกาศ กรมสารบรรณ
ถูกลดฐานะลงเป็นกอง และเปลี่ยนชื่อเรียกว่า “กองกลาง”  มีหัวหน้าแผนกเป็นผู้กำกับการ 1 นาย และแบ่งเป็น 4 แผนก ได้แก่ 
แผนกร่าง  แผนกสารบรรณและคดี  แผนกทะเบียนพลและสถิติ และแผนกแพทย์
                ต่อมา พ.ศ.2476 จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ สำนักงานและกรมในกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.
2476ขึ้นเป็นครั้งแรก สำหรับการจัดส่วนราชการ เพราะแต่เดิมการจัดส่วนราชการกรมตำรวจ มักจะเป็นรูปประกาศของเสนาบดี
โดยอ้างพระกระแสพระบรมราชโองการ
               ต่อมา พ.ศ.2476 การจัดส่วนราชการกรมตำรวจยังได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอีกหลายครั้ง โดยพระราชกฤษฎีกา
จนกระทั่งพ.ศ.2491 จึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “สำนักงานเลขานุการกรมตำรวจ” และเปลี่ยนตำแหน่งหัวหน้ากองเรียกว่า
“เลขานุการตำรวจ”   แบ่งเป็น 5 แผนก คือ แผนกสารบรรณ แผนกทะเบียนพล  แผนกประวัติ  แผนกจัดกำลัง และแผนกตรวจ
รายงานตรวจราชการ
              วันที่ 10 กันยายน 2491 พล.ต.ท.หลวงชาติ  ตระการโกศล ได้มีคำสั่งแต่างตั้ง พ.ต.อ.โมรา  ดุลลัมพะ ดำรงตำแหน่ง
เลขานุการกรมตำรวจ คนแรก
             พ.ศ.2534 ในคราวการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจวิสามัญครั้งที่ 4/2534 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2534  
ได้มีมติเห็นชอบกำหนดหน้าที่การงานของสำนักงานเลขานุการตำรวจใหม่ แบ่งออกเป็น 3 กองกำกับ และ 2 กลุ่มงานคือ
                    1. กองกำกับการ 1 มี 3 แผนก คือ  งานธุรการและกำลังพล,  งานการเงินและวัสดุ,  งานนโยบายและแผน
                    2. กองกำกับการ 2 มี 3 แผนก คือ  งานรับ/ส่งหนังสือ, งานรับและเสนองานผู้บังคับบัญชา, งานโต้ตอบหนังสือ 
                    3. กองกำกับการ 3 มี 3 แผนก คือ งานการประชุม, งานบริการการประชุม, งานพิธีการ
                    4. กลุ่มงานนิติกร
                    5. กลุ่มงานประสานงานรัฐสภา
              พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรเกล้าฯ ตราพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547  เปลี่ยนชื่อ “กรมตำรวจ”  เป็น “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” และเปลี่ยนชื่อเรียก “สำนักงานเลขานุการกรมตำรวจ” เป็น “สำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ” และเปลี่ยนตำแหน่ง”เลขานุการกรมตำรวจ” เป็น “เวลานุการตำรวจ
แห่งชาติ”
               ต่อมา พ.ศ.2548 มีพระบรมราชโอการโปรดเกล้าฯ ตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 
พ.ศ.2548 และแบ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็น 4 ฝ่ายคือ 1. ฝ่ายอำนวยการ   2.ฝ่ายสารบรรณ 3.ฝ่ายการประชุม 
4.ฝ่ายประสานงานรัฐสภา
              ตามกำหนดหน้าที่การงานของสำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการทั่วไป
ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และราชการอื่นที่มิได้แยกเป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะอำนาจหน้าที่
ดังกล่าวให้รวมถึง ดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการ และงานสารบรรณของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ งานช่วยอำนวยการ 
งานเลขานุการ งานประชุม งานพิธีการ งานประสานรัฐสภา และปฏิบัติงานร่วมกันสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
            ปัจจุบันสำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ แบ่งออกเป็น 4 ฝ่าย 1 กลุ่มงาน คือ
                   1. ฝ่ายอำนวยการ
                   2. ฝ่ายสารบรรณ 1
                   3. ฝ่ายสารบรรณ 2
                   4. ฝ่ายบริการการประชุมและพิธีการ
                   5. กลุ่มงานวิชาการและงานสารบรรณ